-------------------------------------------------------------------------------- --------------------------------------------------------------------------------

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แบ่งแยกและเข้าพวก..เพื่อเพิ่มความจำ

q_3204 

ถ้าเราต้องการเรียนข้อเท็จจริงที่อยู่นอกเหนือตำรา เราต้องใช้วิจารณญาณของเราเองในการตัดสินว่าจะแบ่งแยกหรือเข้าพวกข้อเท็จจริงทั้งหลาย และตัดสินว่าพวกหรือตอนย่อยควรมีขนาดเท่าใด

หากเป็นเรื่องของการแบ่งแยก ควรพยายามแบ่งเนื้อหาตามการแบ่งแยกแบบธรรมชาติ...ถ้ามันมีอยู่แล้ว หรือใช้การแบ่งแยกแบบเทียม เช่น การจัดลำดับตัวอักษร การเรียงลำดับหัวข้อ หรือหลักการที่เหมาะสมอื่นๆ

เวลาที่เราเรียนวิชาได้แตกฉานขึ้น เราย่อมมีความสามารถสูงขึ้นในการรวมข้อมูลที่แตกต่างกันเข้าเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เช่น ถ้าเราจะหัดเล่นเปียโน เราต้องเล่นเสียงดนตรีด้วยมือขวาที่ละนิ้วอย่างลำบาก จนเมื่อมีการพัฒนาทักษะได้ดีขึ้น เราก็สามารถเล่นทั้งสองมือพร้อมกันได้ และสามารถแสดงการเปลี่ยนแปลงตัวโน๊ตได้อย่างรวดเร็วและซับซ้อน

การแบ่งแยกและเข้าพวกนั้นสามรถทำได้หลายอย่างหลายวิธีแล้วแต่ความสะดวกและความเหมาะสมที่เราได้พิจารณาว่าจะแบ่ง แยกและเข้าพวก สิ่งที่เราต้องจดจำนั้นตามวิธีใด ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งกลุ่มตามชื่อ คำ ตัวอักษร การจัดเข้าพวกตามความหมายและจัดตามรูปร่างที่คล้ายคลึงและสัมพันธ์กัน ทุกสิ่งนี้ล้วนเป็นวิธีการของการพัฒนาความจำทั้งสิ้น

ตัวอย่างของการจัดกลุ่ม เช่น หากเราจะไปซื้อของที่ตลาดมีรายการดังนี้ “ข้าวสาร ขนม นม เป็ด กุ้ง ปลาหมึก แป้งมัน น้ำมัน กล้วยไข่ ขนุน

จัดกลุ่มโดยใช้วิธีจัดของชนิดเดียวกัน,ไปด้วยกันได้ คือ ผลไม้ แป้ง เนื้อสัตว์ ก็จะได้ของเป็น 3 กลุ่ม

หรือจัดกลุ่มโดยการจำนกตามตัวอักษรได้ 4 กลุ่ม

1. ขนม ข้าวสาร ขนุน
2. นม น้ำมัน
3. เป็ด ปลาหมึก แป้งมัน
4. กุ้ง กล้วยไข

หากอยากให้จำง่ายก็ท่องว่า 3ข. 2น. 3ป. 2ก.

สิ่งที่อาจสนใจ

Interesting Blog :ช้อปเก่งอย่างเข้าใจเงินเหลือใช้,ช้อปปิ้ง เครื่องประดับ แฟชั่น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น